วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

ประเภทการสื่อสาร (1)

การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมีหลายแบบดังนี้

1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (E-mail หรือ Electronic mail) บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยการพิมพ์จดหมายในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งผ่านสายโทรศัพท์ หรือสายแลน ในองค์กรไปให้ผู้รับโดยไม่ใช้แสตมป์ และส่วนใหญ่จะถึงผู้รับในเกือบทันที สามารถส่งภาพ หรือเสียง แม้แต่แฟ้มวีดิโอได้
2. เว็บไซต์ (Web site) และบริการสืบค้น (Search engine) นายเบอร์เนอร์ ลี แห่งองค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือ เซิร์น ได้พัฒนาโพรโทคอล ชื่อ เอชทีทีพี (HTTP)
ขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2533 ทำให้เกิดบริการเวิลด์ ไวด์ เว็บ(WWW : World Wide Web)ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเว็บไซต์อย่างทุกวันนี้เมื่อต้องการข้อมูลก็เข้าไปยัง
เว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลได้ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสะดวกและเร็ว ปัจจุบันเว็บไซต์สำหรับให้บริการ สืบค้นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ www.google.co.th ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ทราบว่าเว็บใดมีข้อมูลตามคำสำคัญ (Keyword)ที่ระบุ โดยค้นหาได้ทั้งข้อมูลประเภทเว็บไซต์ ภาพ และแฟ้มข้อมูลเว็บไซต์ (Web site)หมายถึง แหล่งรวมเว็บเพจทั้งหมด
โฮมเพจ (Home page) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรก โดยปกติจะหมายถึงแฟ้ม index.htmlเว็บเพจ (Webpage) หมายถึง หน้าเอกสารข้อมูลแต่ละหน้า ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น กระดานข่าว ข้อมูลหลักสูตร หรือข้อมูลบุคลากร เป็นต้น
ภาพเว็บไซต์ www.google.co.th
ที่มา : www.google.com
3. ไออาร์ซี (IRC – Internet relay caht) เป็นบริการที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถคุยผ่านคอมพิวเตอร์พร้อมกันได้หลายคน หรือคุยกันเพียง 2 คนก็ได้ โดยเลือกห้องสนทนา

4. วินโดว์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger) ผู้ใช้มักเรียกสั้นๆว่า เอ็มเอสเอ็น หรือ เอ็ม ตามชื่อเดิม วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ โปรแกรมเอ็มเอสเอ็นมีฟังก์ชันหลายอย่าง เช่น Sharing folders ใช้สำหรับแบ่งปันข้อมูลหรือไฟล์ที่ต้องการให้กับบุคคลที่ต้องการโดยการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมา



5. พาณิชย์อิเล็กทรกนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้ประโยชน์จากอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินในปัจจุบัน เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมทางไกล เป็นต้น

6. การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning หรือ Electronic learning) บริการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนหนังสือโดยไม่จำเป็นต้องไปนั่งในชั้นเรียนแต่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ จะเรียนที่ไหน (Anywhere) เมื่อใด (Anytime) ก็ได้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นขั้นตอนตามบทเรียนรู้ หากสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามจนเข้าใจและมีการสอบวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้

7. ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking หรือ Electronic Banking) เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร หรือหน่วยงานอื่น ๆ โดยใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยมากขึ้น นอกจากการไปติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคารหรือ การทำรายการจากตู้เอทีเอ็ม ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับติดต่อเพื่อชำระค่าสินค้า และบริการ ธนาคาร หลายแห่งให้บริการโอนเงินระหว่างบัญชีผ่านอินเทอร์เน็ต บริการตรวจสอบยอดบัญชีเงินฝาก หน่วยงานนาชกาบางแห่ง เช่น กรมสรรพากรเปิดให้มีการยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 91 ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น